เมนู

หนึ่ง หรือกุศลใหญ่ ๆ เช่นการให้ของเวลามพราหมณ์เป็นต้น ก็ตาม
เถิด ถ้าปรารถนาวัฏฏสมบัติ จิต ชื่อว่าตั้งไว้ผิด ด้วยอำนาจอิง
วัฏฏะ สามารถนำวัฏฏะเท่านั้นมาให้ หาสามารถนำวิวัฏฏะมาให้ไม่
ฉันนั้นเหมือนกัน. แต่เมื่อบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะอย่างนี้ว่า ขอทาน
ของเรานี้ จงนำมาซึ่งความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าตั้งไว้ชอบด้วยอำนาจ
วิวัฏฏะ ย่อมสามารถให้ทั้งพระอรหัตทั้งปัจเจกโพธิฌาณทีเดียว.
สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ปฏิสมฺภิทา วิโมกฺขา จ ยา จ สาวกปารมี
ปจฺเจกโพิ พุทฺธภูมิ สพฺพเมเตน ลพฺภติ.
ปฏิสัมภิทา 1 วิโมกข์ 1 สาวกปารมี 1 ปัจเจก-
โพธิ 1 พุทธภูมิ 1 ทั้งหมดนั้น บุคคลย่อมได้
ด้วยจิตที่ตั้งไว้ชอบนั้น.

ก็ในสูตรทั้งสองนี้ ท่านกล่าวทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปทุฏฺฐจิตฺตํ ได้แก่จิตอันโทสประทุษร้ายแล้ว. บทว่า
เจตสา เจโต ปริจฺจ ความว่า กำหนดจิตของเขา ด้วยจิตของตน.
บทว่า ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต ความว่า พึงเห็นว่า ตั้งอยู่ในนรกนั่นแล